Performance Management เปรียบเหมือนศิลปะในการบริหารพนักงานให้มีผลงานที่ดีขึ้น

1362 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Performance Management เปรียบเหมือนศิลปะในการบริหารพนักงานให้มีผลงานที่ดีขึ้น

Performance Management เปรียบเหมือนศิลปะในการบริหารพนักงานให้มีผลงานที่ดีขึ้น ตั้งแต่การรักษาพนักงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและมีส่วนร่วมให้ทำงานกับองค์กรต่อไป จนถึงการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อย

ในบทความนี้ พบกับ 3 ขั้นตอนเบื้องต้น แต่ใช้ได้จริงในการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานผ่าน Performance Management System กันค่ะ 

1 - เริ่มต้นด้วยการสื่อสาร

เมื่อพนักงานในองค์กรเข้าใจทุกเรื่องตรงกัน ทีมต่างๆ ก็สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่พนักงานหลายคนเชื่อว่า ผลงานของพวกเขามีโอกาสที่จะดีขึ้น หากได้ประเมินผลและพูดคุยกันมากกว่าปีละ 1 ครั้ง

หลายครั้งที่หัวหน้าและลูกน้องไม่เข้าใจถึงสิ่งที่ต้องการจากกันและกัน ไม่ใช่จากการสื่อสารที่ผิดพลาด แต่เป็นการขาดการสื่อสาร

ตัวอย่างนโยบายที่ควรใช้เพื่อแก้ไขเรื่องนี้ เช่น นโยบาย Open Door Policy เป็นการบริหารงานที่เหมือนหัวหน้าได้เปิดประตูห้องไว้สำหรับให้ลูกน้องเข้าพบ เพื่อปรึกษาหรือพูดคุยได้ตลอดเวลา ช่วยลดช่องว่างทางการสื่อสารและสร้างความเข้าใจระหว่างกัน

หากพนักงานรู้สึกว่ามีที่ที่ปลอดภัยในการนำเสนอความคิดเห็น ก็จะได้รับแรงจูงใจในการแชร์คำถามและข้อกังวลในมุมของพวกเขา

2 - รับฟังคำติชมจากทุกคนที่ได้ร่วมงาน

ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า หัวหน้าเป็นคนเดียวที่มีสิทธิ์ให้ข้อเสนอแนะหรือแสดงความคิดเห็น แต่จริงๆ แล้ว ความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงานหรือจากคนที่ได้ทำงานร่วมกันนั้นมีค่ามาก จึงมีพนักงานหลายคนที่ต้องการรับฟังคำติชมจากคนกลุ่มนี้เช่นกัน

ดังนั้้น สำหรับข้อนี้ อาจจะใช้การประเมินผลรอบทิศแบบ 360 องศา (360-degree Feedback) ที่ต้องสอบถามความคิดเห็นจากบุคคลรอบข้างที่ได้ทำงานร่วมกัน เพื่อให้เห็นหลากลายมุมมอง หลายความคิด ตั้งแต่ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่า ไปจนถึงพนักงานในระดับที่อยู่ล่างกว่า ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องอยู่ในแผนกเดียวกัน รวมถึงการประเมินจากผู้ที่อยู่นอกองค์กร เช่น ลูกค้า, คู่ค้า เป็นต้น

หัวใจหลักของ 360-degree Feedback อีกอย่างหนึ่ง คือ ช่วยให้พนักงานสามารถประเมินผลตัวเองได้ ว่าขณะนี้มีความสามารถหรือศักยภาพในการทำงานอย่างไร และควรปรับปรุงจุดไหนบ้าง

3 - ใช้คำวิจารณ์ให้เกิดประโยชน์

หัวหน้าอาจจะใช้วิธีประชุมแบบตัวต่อตัวให้บ่อยขึ้น เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความสำเร็จในการทำงานของพนักงาน รวมทั้งทำความเข้าใจเกี่ยวกับความคาดหวังและเป้าหมายให้ตรงกัน จากนั้นหัวหน้าจึงให้ข้อเสนอแนะ พร้อมทั้งให้โอกาสในการเรียนรู้ ฝึกอบรม พูดคุยเกี่ยวกับเป้าหมายในอาชีพ และช่วยพัฒนาแผนการทำงานของพนักงาน เพื่อปรับปรุงในด้านที่พวกเขาอาจยังทำได้ไม่ดี

วิธีต่างๆ ที่หัวหน้าช่วยให้พนักงานก้าวหน้าในอาชีพ นอกจากทำให้พนักงานมีแรงจูงใจอยากทำหน้าที่ให้ดีที่สุดแล้ว ยังเกิดความไว้วางใจในหัวหน้าและองค์กรด้วยเช่นกัน

อย่างที่ทราบกันว่า Performance Management System เป็นระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ที่มุ่งเน้นในเรื่อง "การพัฒนาของพนักงาน" พนักงานที่ได้รับการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ ผสมกับคำชม และได้รับความช่วยเหลือจากหัวหน้าหรือองค์กร มักจะมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้นค่ะ 

-------

ที่มา

https://www.jungohr.ca/blog/how-does-performance-management-impact-employee-motivation 

https://hrdailyadvisor.blr.com/2016/12/15/create-motivation-performance-management/ 

https://www.prosoft.co.th/Article/Detail/134504 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้