578 จำนวนผู้เข้าชม |
ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กๆ หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ ก็ควรให้ความสำคัญกับการบริหารค่าตอบแทนของพนักงานในแบบเดียวกัน เพราะสิ่งนี้คือแรงจูงใจสำคัญ ที่ช่วยดึงดูดและรักษาให้พนักงานที่มีความสามารถอยากทำงานในบริษัทแห่งนี้ ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจเติบโตได้
การบริหารค่าตอบแทน (Compensation Management) คืออะไร?
● การวางแผนและการควบคุมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าตอบแทน ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับพนักงาน เมื่อทำงานตามที่ได้ตกลงกันไว้
ถ้าให้เห็นภาพง่ายๆ ก็ การได้รับเงินเดือนที่มาพร้อมกับผลประโยชน์และการเลื่อนตำแหน่ง นี่คือเหตุผลว่าทำไมสิ่งนี้จึงเป็นแรงจูงใจสำคัญของพนักงาน ไม่เพียงแต่ทำงานให้เสร็จไปวันๆ แต่ยังมุ่งมั่นที่จะทำให้งานนั้นออกมาดีที่สุด
การบริหารค่าตอบแทน ไม่ได้มีเพียงเงินเดือนเท่านั้น แต่เป็นการจ่ายเงินทุกประเภท รวมถึงผลประโยชน์ที่มอบให้พนักงาน เช่น เงินเดือน โบนัส กองทุนเกษียณอายุ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพและทันตกรรม
นอกจากพนักงานจะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมแล้ว การบริหารค่าตอบแทนยังส่งผลดีต่อฝ่าย HR และองค์กรเช่นกัน ~
1. ดึงดูดและรักษาให้พนักงานที่มีความสามารถอยากทำงานในองค์กรนี้
เมื่อมีการให้ค่าตอบแทนที่สูง ก็ยิ่งทำให้คนอยากเข้ามาทำงานในองค์กรมากขึ้น ส่งผลให้ฝ่าย HR สามารถคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมได้ พร้อมทั้งช่วยให้พนักงานปัจจุบันอยากทำงานในที่แห่งนี้ต่อไป
2. ช่วยลดความขัดแย้งในองค์กร
เมื่อมีการให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่พนักงานทุกคน จะช่วยลดปัญหาการไม่พึงพอใจและการขัดแย้งของพนักงานในองค์กรได้
3. สร้างแรงจูงใจให้พนักงานทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด
ค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับงานที่ทำ ยิ่งเห็นว่าทำงานดีมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น จะช่วยสร้างความพึงพอใจและแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
4. สามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้
ค่าตอบแทนถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายสำคัญของธุรกิจ เมื่อมีการวางแผนให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมแก่พนักงานแล้ว จะทำให้ธุรกิจควบคุมค่าใช้จ่ายได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
----
ref
https://www.ngahr.com/blog/compensation-management-is-important-in-every-company
http://www.elfhs.ssru.ac.th/paranee_sr/pluginfile.php/180/block_html/content/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99.pdf